เนื้อหาจากการสัมภาษณ์

เนื้อหาในการให้สัมภาษณ์
จากการสัมภาษณ์ นางฉวีลักษ์ ภักดีเจริญวัฒน์ พบว่าการนวดเป็นการบำบัดรักษาดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยวิธีหนึ่งโดยทั่วไปใน การนวดแบบราชสำนัก เนื่องจากแผนโบราณ" โดยมีหลักฐานว่านวดแผนไทยนั้นมีประวัติมาจากประเทศอินเดีย และมีการนำเข้ามาในประเทศไทย จากนั้นได้ถูกพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของสังคมไทย จนเป็นรูปแบบแผนที่เป็นมาตรฐานของไทยและส่งทอดมาจนถึงปัจจุบัน การนวดแผนไทยแบ่งเป็น 2 สาย คือ สายราชสำนักและสายเชลยศักดิ์กลุ่มเป้าหมายของการนวดนี้คือ เจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ที่อยู่ในรั้วในวัง ฉะนั้นการนวดจึงถูกออกแบบที่เน้นการใช้นิ้วมือและมือเท่านั้น และท่วงท่าที่ใช้ในการนวดมีความสุภาพเรียบร้อย มีข้อกำหนดในการเรียนมากมาย ผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิชาชีพด้านนี้ จะได้ทำงานอยู่ในรั้วในวังเป็นหมอหลวง มีเงินเดือนมียศมีตำแหน่งมีความเชื่อว่ารากฐานของการนวดแผนโบราณมาจากประเทศอินเดีย โดยหมอชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ประจำราชวงศ์สักยะ และแพทย์ประจำองค์พระพุทธเจ้าเป็นผู้ริเริ่มขึ้นในสมัยพุทธกาล ได้แพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด พบว่ามีการนวดกันเฉพาะในวัง โดยจะนวด แต่พระเจ้าแผ่นดินหรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เท่านั้น ต่อมาภายหลังจึงเริ่มเผยแพร่สู่บุคคลทั่วไป สำหรับในประเทศไทยนั้น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่งคือ ศิลาจารึก สมัยพ่อขุนรามคำแหง บนศิลาจารึกนั้นมีรอยจารึกเป็นรูปการรักษาโรคโดยการนวด และหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง เป็นบันทึกจดหมายเหตุของราชทูตฝรั่งเศส ไซมอน ลา ลูแบร์ ในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2204 กล่าวถึงการนวดเพื่อรักษาโรคของไทยว่า “ในกรุงสยามนั้นถ้าใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มทำเส้นสายยืด โดยให้ผู้ชำนาญในทางนี้ขึ้นไปบนหลังแล้วใช้เท้าเหยียบ กล่าวกันว่า “หญิงมีครรภ์มักใช้ให้เด็กเหยียบ เพื่อให้คลอดบุตรง่าย” ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จัดได้ว่าเป็นยุคทองของการแพทย์แผนไทย ถึงกับขนานนามวิชาการนวดว่า “หัตถศาสตร์การนวดไทย” ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในทำเนียบศักดินา ทำเนียบศักดินาเป็นทำเนียบที่ใช้สำหรับเจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์เท่านั้นประมาณ พ.ศ. 2300 ได้เริ่มมีการเขียนตำราเกี่ยวกับการนวดไว้ในใบลาน โดยจารึกไว้เป็นภาษาบาลี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาถูกพม่าเผาจนเสียหายอย่างหนัก ตำราเกี่ยวกับการนวดเหล่านี้จึงสูญหายไปด้วย เหลือเพียงบางส่วนเท่านั้น จึงได้มีการประมวลความรู้เกี่ยวกับการนวดแผนโบราณอย่างเป็นทางการต่อมาในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนาถมีการแบ่งส่วนที่ดินให้เป็นศักดินาแก่หมอนวดเช่นเดียวกับข้าราชการสมัยอยุธยา สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การแพทย์แผนไทยยังสืบทอดรูปแบบมาจากสมัยอยุธยา แต่ผู้มีความรู้บางส่วนหายสาบสูญไป เหลือเพียงหมอพระและหมอกลางบ้านที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ จึงสามารถ ระดมความรู้จากชนกลุ่มนี้ได้
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนเพิ่มเติมจนครบ 80 ท่า เป็นรูปปั้นซึ่งทำด้วยดีบุก และจารึกวิชาการนวดไทยลงบน แผ่นหินอ่อน 60 ภาพ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ประดับบนผนังศาลารายและบนเสาวัดโพธิ์ จนสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น